โมเดลการจัดการความรู้ไม่รู้จบ
แบบจำลองการจัดการความรู้ ที่มองจากจุดเน้นที่ต่างกันของการจัดการ “ความรู้ชัดแจ้ง” (Explicit Knowledge) และการจัดการ “ความรู้ฝังลึก” (Tacit Knowledge)
ความรู้ประเภทแรก หรือ “ความรู้ชัดแจ้ง” เป็นความรู้ที่เรามักเห็นได้เป็นรูปธรรมว่าเป็นความรู้ อยู่ในตำราเป็นเอกสารอยู่ใน Internet บ้าง เช่น พวกหลักวิชาหรือทฤษฎีทั้งหลายอันได้มาจากการวิเคราะห์ผ่านกระบวนการพิสูจน์ ผ่านกระบวนการวิจัย การจัดการความรู้ชัดแจ้งนี้จึงแสดงออกมาในรูปวงจรด้านซ้าย (ดังรูป) โดยขออธิบายเริ่มต้นจากหมายเลข 1 “การเข้าถึง” ความรู้อยู่ที่ไหนสักแห่ง การมีความรู้แต่เข้าถึงไม่ได้ก็ไร้ประโยชน์ และเมื่อเข้าถึงแล้วต้องไม่บุ่มบ่ามนำความรู้ที่ได้มาใช้แบบไม่ลืมหูลืมตา ต้องตีความและปรับความรู้นั้นให้เข้ากับบริบทของตนแล้ว “นำไปใช้” (หมายเลข 2) และเรามักจะพบว่าเมื่อเรานำความรู้ไปใช้แล้ว เรามักจะพบว่ามีสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นไปอีกเสมอ เป็น “การยกระดับการเรียนรู้” (หมายเลย 3) ซึ่งหลังจากที่ได้ยกระดับความรู้ขึ้นแล้ว ก็มี “การรวบรวมจัดเก็บความรู้” (หมายเลข 4) นี้ไว้ให้เป็นระบบ หมวดหมู่ เพื่อให้สามารถสืบค้นเข้าถึงได้ง่าย กลายเป็นวงจรต่อยอดขึ้นไปเรื่อย ๆ
ส่วนความรู้แระเภทที่สอง หรือ “ความรู้ฝังลึก” เป็นความรู้ที่เห็นได้ไม่ชัด เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติบ้างเป็น “เคล็ดวิชา” บ้างเป็น “ภูมิปัญญา” เป็นสิ่งที่มาจากการใช้วิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ เป็นเทคนิคเฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติแต่ละคน ดังนั้นการจัดการความรู้ฝังลึกนี้จึงไม่ง่ายนัก เพราะเราไม่สามารถฝืนใจให้ใครถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ออกมาได้ ขั้นตอนแรกหมายเลข 5 จึงเป็นเรื่องการสร้างบรรยากาศกัลยาณมิตรมีใจแบ่งปันกัน แล้วจัดให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกัน (หมายเลข 6) สามารถสร้างความรู้ใหม่ได้ภายในตนเอง (หมายเลข 7) แล้วนำไปปรับใช้ในการทำงานครั้งต่อ ๆ ไป (หมายเลข 8) เป็นวงจรที่หมุนไม่หยุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น