2 ต.ค. 2554

โมเดลการจัดการความรู้ปลาทู

 




แบบจำลองง่าย ๆ ที่อุปมาว่า KM เป็นเหมือนปลาตัวหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน
                หัวปลา (Knowledge Vision) : หรือตัวย่อ KV คือเป้าหมายของการจัดการความรู้ เป็นการตอบคำถามว่าประเด็นที่น่าจะนำมาจัดการความรู้นั้นเป็นเรื่องอะไร เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ ขององค์กรอย่างไร หัวปลานี้ให้ดี เพื่อไม่ให้ปลาว่ายไปผิดทาง ดังนั้นคำถามสำคัญที่ต้องตอบให้ได้ก็คือ เรากำลังจะทำ KM ไปทำไม ทำไปเพื่ออะไร ? เรากำลังจะจัดการความรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร ?”  
                ตัวปลา (Knowledge Sharing) : หรือตัวย่อ KS คือการแลกเปลี่ยวความรู้ (Share & Learn) ซึ่งถือว่าเป็น หัวใจของการทำการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะการที่คนเราจะแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ในตัวออกมาให้กับผู้อื่นนั้น ต้องอาศัยความเป็นกัลยาณมิตร และความไว้วางใจกัน บรรยากาศที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้จะต้องเป็นบรรยากาศแบบสบาย ๆ ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง ไม่เกร็ง ไม่เคร่งเครียด และไม่รู้สึกว่าเป็นทางการมากนัก และที่สำคัญคือผู้ร่วมวงแลกเปลี่ยนต้องมีใจ เปิดรับฟังได้อย่างไม่มีอคติ โดย คุณอำนวย(Knowledge Facilitator) จะเป็นผู้อำนวยให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ลื่นไหล ไม่หลุดนอกประเด็น และคอยกระตุ้นให้เกิดการเล่าความรู้ฝังลึกออกมาต่อยอดกัน
หางปลา (Knowledge Asset) : หรือตัวย่อ KA หมายถึง คลังความรู้ซึ่งเปรียบเสมือนที่ที่เราเอาความรู้ที่ได้มาใส่ไว้ แล้วจัดระบบให้เก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อตัว .คุณกิจ (Knowledge Pracititoner)  ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติทำกิจกรรมใช้ความรู้นั้น ๆ จะนำไปใช้ต่อยอด ซึ่งที่ผ่านมาคลังความรู้ก็ทำได้หลายรูปแบบไม่เฉพาะออกมาเป็นเอกสาร ตำรา และคลังความรู้ที่ดีนั้นควรจะมีทั้ง 3 ส่วน คือ มี ความรู้ฝังลึก” (Tacit Knowledge) ที่เก็บเทคนิค รายละเอียด และแรงบันดาลใจ มีส่วนเป็น ความรู้ชัดแจ้ง” (Explicit Knowledge) ที่ได้มาจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ถอดบทเรียนจากเรื่องเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่วนที่สามเป็นส่วนอ้างอิงถึง แหล่งความรู้ทั้งที่เป็นเอกสารและบุคคลผู้รู้ ผู้ปฏิบัติในเรื่องนั้น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น