2 ต.ค. 2554

ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้


ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ คือ การวางแผนงาน ในการรวบรวม สร้าง จัดระบบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยพัฒนาจัดข้อมูล ไปสู่สารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรู้และปัญญามากที่สุด

โดย อาจารย์ ดร. สมชาย เทพแสง 


การจัดการความรู้

 



การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
 

โมเดลการจัดการความรู้ไม่รู้จบ


 
                 แบบจำลองการจัดการความรู้ ที่มองจากจุดเน้นที่ต่างกันของการจัดการ ความรู้ชัดแจ้ง” (Explicit Knowledge) และการจัดการ ความรู้ฝังลึก” (Tacit Knowledge)

                ความรู้ประเภทแรก หรือ ความรู้ชัดแจ้ง เป็นความรู้ที่เรามักเห็นได้เป็นรูปธรรมว่าเป็นความรู้ อยู่ในตำราเป็นเอกสารอยู่ใน Internet บ้าง เช่น พวกหลักวิชาหรือทฤษฎีทั้งหลายอันได้มาจากการวิเคราะห์ผ่านกระบวนการพิสูจน์ ผ่านกระบวนการวิจัย การจัดการความรู้ชัดแจ้งนี้จึงแสดงออกมาในรูปวงจรด้านซ้าย (ดังรูป) โดยขออธิบายเริ่มต้นจากหมายเลข 1 “การเข้าถึงความรู้อยู่ที่ไหนสักแห่ง การมีความรู้แต่เข้าถึงไม่ได้ก็ไร้ประโยชน์ และเมื่อเข้าถึงแล้วต้องไม่บุ่มบ่ามนำความรู้ที่ได้มาใช้แบบไม่ลืมหูลืมตา ต้องตีความและปรับความรู้นั้นให้เข้ากับบริบทของตนแล้ว นำไปใช้(หมายเลข 2) และเรามักจะพบว่าเมื่อเรานำความรู้ไปใช้แล้ว เรามักจะพบว่ามีสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นไปอีกเสมอ เป็น การยกระดับการเรียนรู้(หมายเลย 3) ซึ่งหลังจากที่ได้ยกระดับความรู้ขึ้นแล้ว ก็มี การรวบรวมจัดเก็บความรู้(หมายเลข 4) นี้ไว้ให้เป็นระบบ หมวดหมู่ เพื่อให้สามารถสืบค้นเข้าถึงได้ง่าย กลายเป็นวงจรต่อยอดขึ้นไปเรื่อย ๆ
                ส่วนความรู้แระเภทที่สอง หรือ ความรู้ฝังลึกเป็นความรู้ที่เห็นได้ไม่ชัด เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติบ้างเป็น เคล็ดวิชาบ้างเป็น ภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่มาจากการใช้วิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ เป็นเทคนิคเฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติแต่ละคน ดังนั้นการจัดการความรู้ฝังลึกนี้จึงไม่ง่ายนัก เพราะเราไม่สามารถฝืนใจให้ใครถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ออกมาได้ ขั้นตอนแรกหมายเลข 5 จึงเป็นเรื่องการสร้างบรรยากาศกัลยาณมิตรมีใจแบ่งปันกัน แล้วจัดให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกัน (หมายเลข 6) สามารถสร้างความรู้ใหม่ได้ภายในตนเอง (หมายเลข 7) แล้วนำไปปรับใช้ในการทำงานครั้งต่อ ๆ ไป (หมายเลข 8) เป็นวงจรที่หมุนไม่หยุด

โมเดลการจัดการความรู้ปลาทู

 




แบบจำลองง่าย ๆ ที่อุปมาว่า KM เป็นเหมือนปลาตัวหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน
                หัวปลา (Knowledge Vision) : หรือตัวย่อ KV คือเป้าหมายของการจัดการความรู้ เป็นการตอบคำถามว่าประเด็นที่น่าจะนำมาจัดการความรู้นั้นเป็นเรื่องอะไร เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ ขององค์กรอย่างไร หัวปลานี้ให้ดี เพื่อไม่ให้ปลาว่ายไปผิดทาง ดังนั้นคำถามสำคัญที่ต้องตอบให้ได้ก็คือ เรากำลังจะทำ KM ไปทำไม ทำไปเพื่ออะไร ? เรากำลังจะจัดการความรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร ?”  
                ตัวปลา (Knowledge Sharing) : หรือตัวย่อ KS คือการแลกเปลี่ยวความรู้ (Share & Learn) ซึ่งถือว่าเป็น หัวใจของการทำการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะการที่คนเราจะแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ในตัวออกมาให้กับผู้อื่นนั้น ต้องอาศัยความเป็นกัลยาณมิตร และความไว้วางใจกัน บรรยากาศที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้จะต้องเป็นบรรยากาศแบบสบาย ๆ ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง ไม่เกร็ง ไม่เคร่งเครียด และไม่รู้สึกว่าเป็นทางการมากนัก และที่สำคัญคือผู้ร่วมวงแลกเปลี่ยนต้องมีใจ เปิดรับฟังได้อย่างไม่มีอคติ โดย คุณอำนวย(Knowledge Facilitator) จะเป็นผู้อำนวยให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ลื่นไหล ไม่หลุดนอกประเด็น และคอยกระตุ้นให้เกิดการเล่าความรู้ฝังลึกออกมาต่อยอดกัน
หางปลา (Knowledge Asset) : หรือตัวย่อ KA หมายถึง คลังความรู้ซึ่งเปรียบเสมือนที่ที่เราเอาความรู้ที่ได้มาใส่ไว้ แล้วจัดระบบให้เก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อตัว .คุณกิจ (Knowledge Pracititoner)  ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติทำกิจกรรมใช้ความรู้นั้น ๆ จะนำไปใช้ต่อยอด ซึ่งที่ผ่านมาคลังความรู้ก็ทำได้หลายรูปแบบไม่เฉพาะออกมาเป็นเอกสาร ตำรา และคลังความรู้ที่ดีนั้นควรจะมีทั้ง 3 ส่วน คือ มี ความรู้ฝังลึก” (Tacit Knowledge) ที่เก็บเทคนิค รายละเอียด และแรงบันดาลใจ มีส่วนเป็น ความรู้ชัดแจ้ง” (Explicit Knowledge) ที่ได้มาจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ถอดบทเรียนจากเรื่องเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่วนที่สามเป็นส่วนอ้างอิงถึง แหล่งความรู้ทั้งที่เป็นเอกสารและบุคคลผู้รู้ ผู้ปฏิบัติในเรื่องนั้น ๆ

30 สิงหาคม 2554 โครงการสัมมนาการจัดการเรียนการสอน เรื่องรู้เท่าทันการประกันคุณภาพการศึกษารอบ 3


30 สิงหาคม 2554 โครงการสัมมนา

การจัดการเรียนการสอน เรื่องรู้เท่าทันการประกันคุณภาพการศึกษารอบ 3

 


โมเดลการประกันคุณภาพการศึกษา

นำเสนอโมเดล

 

นิทรรศการ


นิทรรศการ 
"เปิดโลกนิทรรศการการจัดการความรู้" 
โดย นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ 5ปี)

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน 2554

บอร์ดนิทรรศการ
 แผ่นพับนำเสนอการจัดการความรู้